Service Manager : Araya (0-2257-0357 ext. 555)
FAQ สำหรับผู้ค้าตราสารหนี้
1. สถานะของผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ขึ้นทะเบียนบนหน้า website ThaiBMA นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร ระหว่างผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมาชิก และที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งจากสมาชิก และที่ไม่ได้ระบุ ( - )
ผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ที่สังกัดอยู่ในองค์กรของสมาชิก ThaiBMA จะต้องระบุสถานะจากองค์กรสมาชิก ว่าจะให้ผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ท่านดังกล่าวทำหน้าที่กระทำธุรกรรมการซื้อขายตราสารหนี้แทนองค์กรหรือไม่ หากองค์กรสมาชิกเห็นควรให้ผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ท่านดังกล่าวมีหน้าที่ในการกระทำธุรกรรมการซื้อขายตราสารหนี้ให้ดำเนินการแต่งตั้งการทำหน้าที่เข้ามาที่ ThaiBMA แต่หากผู้ค้าตราสารหนี้ท่านดังกล่าวไม่ได้อยู่ในสายงานด้านค้าตราสารหนี้ หรือไม่มีหน้าที่ในการทำการซื้อขายฯ ให้ระบุว่าไม่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำธุรกรรมแทนองค์กร สำหรับผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ที่ไม่ได้ระบุสถานะ ( - ) คือผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ที่สังกัดอยู่ในองค์กรอื่นที่ไม่ใช่องค์กรสมาชิกของสมาคม จึงไม่ต้องระบุสถานะแต่อย่างใด
คำถามเกี่ยวกับการต่ออายุขึ้นทะเบียน
1. หากไม่ได้เข้าอบรมทบทวนความรู้ด้านตราสารหนี้ของผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ขึ้นทะเบียน มีผลให้ผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) สิ้นสุดอายุการขึ้นทะเบียนทันทีหรือไม่
หากผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) มีอายุการขึ้นทะเบียนสิ้นสุดในปีนั้น (31 ธันวาคม) ต้องเข้ารับการอบรมตามรอบที่กำหนด มิฉะนั้นสถานะผู้ค้าตราสารหนี้จะถูกระงับ (Suspend) เป็นการชั่วคราว คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ในปีถัดไป จนถึงวันที่ผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) เข้ารับการอบรมในรอบปีถัดไป ซึ่งหากเข้าอบรมแล้ว ThaiBMA จะต่ออายุทะเบียนอีกครั้ง (สามารถทำธุรกรรมต่อได้) โดยมีอายุการต่อทะเบียนครั้งละ 2 ปีปฏิทิน นับเริ่มจากวันที่ถูกระงับ (วันที่ 1 มกราคม) แต่หากผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ไม่เข้าอบรมต่ออายุทะเบียนภายใน 1 ปีปฏิทินนับจากวันหมดอายุ จะมีผลให้สิ้นสุดอายุการขึ้นทะเบียนผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) และถูกถอดชื่อออกจากทะเบียนในที่สุด
2. รอบการนับชั่วโมงสะสม (CPE) เพื่อใช้ในการต่ออายุทะเบียนผู้ค้าตราสารหนี้
การนับชั่วโมงสะสม (CPE) เพื่อใช้ต่ออายุทะเบียน ชั่วโมงสะสมนั้นต้องอยู่ในช่วงระยะเวลา 2 ปีปฏิทินที่จะต้องต่ออายุทะเบียน
3. สามารถตรวจสอบวันครบกำหนดการขึ้นทะเบียนผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ได้จากที่ไหน
ผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ขึ้นทะเบียน สามารถตรวจสอบวันครบกำหนดการขึ้นทะเบียนผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ได้ที่ https://www.thaibma.or.th/EN/Rule/Search.aspx
4. สามารถตรวจสอบรอบการอบรม Bond Trader Refresher Course ประจำปี ได้จากที่ไหน
ผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ขึ้นทะเบียน สามารถตรวจสอบรอบการอบรม Bond Trader Refresher Course ประจำปี ได้ที่ https://www.thaibma.or.th/EN/Training/coProfress.aspx
5. เมื่อผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ขึ้นทะเบียนที่เข้ารับการอบรม Bond Trader Refresher Course แล้ว จะได้รับหนังสือรับรองผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) เมื่อใด
ThaiBMA จะทำการต่ออายุการขึ้นทะเบียนและออกหนังสือรับรองผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) และนำส่งให้ท่านภายใน 30 วัน หากจำนวนชั่วโมงการเข้าร่วมอบรมเป็นไปตามที่ ThaiBMA ได้กำหนดไว้
คำถามอื่นๆ
1. ผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) สามารถติดต่อซื้อขายตราสารหนี้ให้ลูกค้ารายใหญ่ (High net worth) ได้เองหรือต้องมีผู้แนะนำการลงทุน (IC License) เป็นผู้ทำหน้าที่
ผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) สามารถตกลงและทำรายการซื้อขายกับลูกค้ารายใหญ่ (High net worth) โดยไม่ผ่านผู้แนะนำการลงทุน (IC License) หากเป็นความประสงค์ของลูกค้าแต่ผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) แต่ต้องไม่ชักจูงหรือให้คำแนะนำการลงทุนแก่ลูกค้า
- หนังสือเวียน ก.ล.ต. ที่ ด.(ว) 5/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการค้าตราสารหนี้ ลงวันที่ 26 ธ.ค. 2543
ข้อมูลประกอบ
- ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับประมวล) ลงวันที่ 3 มิ.ย. 2557
- หนังสือเวียน ก.ล.ต. ที่ ด.(ว) 5/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการค้าตราสารหนี้ ลงวันที่ 26 ธ.ค. 2543