Individual Investors

  • Posted by:

    ThaiBMA
  • Posted on:

    May 16, 2017
Coupon&Yield คู่ซี้ที่แตกต่าง

โดยทั่วไปแล้วนักลงทุนมักจะต้องการผลตอบแทนที่ดี เช่น หากลงทุนโดยการฝากเงินก็จะให้ความสาคัญกับอัตราดอกเบี้ยที่จะได้รับ หากลงทุนในหุ้นก็จะคาดหวังให้ราคาปรับตัวขึ้น เพื่อได้กำไรจากส่วนต่างราคาและเงินปันผลที่สูง และถ้าลงทุนในตราสารหนี้ก็ต้องการผลตอบแทนที่ดีเช่นกัน แต่อัตราผลตอบแทนของการลงทุนในตราสารหนี้ที่พูดถึงกันบ่อยๆ อาจมีความสับสนเล็กน้อยระหว่าง Coupon (ดอกเบี้ยหน้าตั๋ว) กับ Yield (อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีจากการถือตราสารหนี้จนครบอายุ) จึงควรทำความเข้าใจก่อนลงทุน

เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ สำหรับ Coupon (อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว) ควรมองจากมุมของผู้ออกตราสารซึ่งเป็นผู้กู้เงิน ผู้ออกมีหน้าที่จ่ายดอกเบี้ยตามกาหนดเวลาที่ได้สัญญาไว้กับผู้ถือตราสาร เช่น กู้เงิน 1,000,000 บาท Coupon 5% ต่อปี จ่ายปีละ 2 ครั้ง ดังนั้นเมื่อครบกาหนดหรือทุกๆ 6 เดือน ผู้ออกจะต้องจ่ายดอกเบี้ยจานวน 25,000 บาท ให้แก่ผู้ถือตราสารจนกว่าตราสารจะครบอายุและคืนเงินต้นให้แก่ผู้ถือตราสาร จะเห็นว่าไม่ว่าผู้ถือตราสารจะได้ตราสารมาเมื่อไรที่ราคาเท่าใด ผู้ออกตราสารจะจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่กาหนดไว้บนหน้าตั๋ว (ราคาพาร์) ดังนั้น Coupon จึงเหมาะแก่การใช้บริหารกระแสเงินสด ซึ่งให้ความสำคัญกับจำนวนเงินในอนาคต

ในขณะที่ Yield (อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีจากการถือตราสารหนี้จนครบอายุ) จะสะท้อนถึงอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่จะได้รับจาก Coupon ที่กาหนดไว้ ณ ระดับราคาของตราสารหนี้ที่ซื้อมาและถือจนครบอายุ ไถ่ถอนที่ราคาพาร์ หากซื้อมาที่ราคาพาร์ (มูลค่าหน้าตั๋ว) นักลงทุนจะได้รับ Yield เท่ากับ Coupon เพราะตราสารหนี้จะไถ่ถอนที่ราคาพาร์เสมอ แต่ถ้าซื้อตราสารหนี้ที่ราคาต่ากว่าราคาพาร์นักลงทุนจะได้รับ Yield ในอัตราที่สูงกว่า Coupon และในทางตรงข้าม หากซื้อตราสารหนี้ที่ราคาสูงกว่าราคาพาร์ นักลงทุนก็จะได้รับ Yield ในอัตราที่ต่ากว่า Coupon

ยกตัวอย่างเช่นพันธบัตร LB19DA (ครบอายุปี 2019 รุ่น B) มี Coupon อยู่ที่ 5.375% ต่อปี นั้น ถ้าซื้อพันธบัตรนี้ที่ราคาพาร์ 1,000 บาทและถือจนครบอายุ จะได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5.375% ต่อปี แต่ปัจจุบัน(25/4/2017) Yield ของพันธบัตรดังกล่าวที่ซื้อขายกันในตลาดอยู่ที่ 1.6482% ซึ่งต่ากว่า Coupon แสดงว่าราคาตลาดของพันธบัตรนี้ต้องสูงกว่าราคาพาร์ (Premium bond) ซึ่งก็พบว่าราคาตลาดของพันธบัตรนี้อยู่ที่ 1,115.88 บาท สูงกว่าราคาพาร์จริงๆ ในขณะที่พันธบัตร LB226A (ครบอายุปี 2022 รุ่น A) มี Coupon อยู่ที่ 1.875% ต่อปี ราคาพาร์ 1,000 บาท ปัจจุบัน (25/4/2017) Yield ของพันธบัตรดังกล่าวที่ซื้อขายกันในตลาดอยู่ที่ 2.1675% ซึ่งสูงกว่า Coupon แสดงว่าราคาตลาดตอนนี้ต่ำกว่าราคาพาร์ (Discount bond) เมื่อตรวจสอบราคาตลาดของพันธบัตรนี้ก็พบว่าราคาอยู่ที่ 992.53 บาท ต่ากว่าราคาพาร์ จากตัวอย่าง น่าจะทาให้เข้าใจความแตกต่างระหว่าง Coupon กับ Yield มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม สาหรับตราสารหนี้บางรุ่นอาจไม่มีการจ่าย Coupon แต่มิได้หมายความว่าไม่มีผลตอบแทนให้ เพียงแต่ผลตอบแทนจะแฝงอยู่ในส่วนต่างระหว่างราคาซื้อขาย โดยตราสารหนี้นั้นจะขายในราคาที่ต่ากว่าราคาหน้าตั๋วหรือราคาพาร์ นั่นคือซื้อมาถูกแต่ขายคืนได้แพงนั่นเอง ดังนั้นยิ่งนักลงทุนซื้อตราสารมาได้ต่ากว่าราคาพาร์มากเท่าใด Yield ที่ได้รับก็จะยิ่งสูงนั่นเอง แต่หากดันซื้อมาแพงแต่ขายคืนได้ต่ากว่า อันนี้ก็เท่ากับว่า ท่านกาลังจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้กู้ที่อุตสาห์มากู้เงินท่านไปใช้

โดยสรุปแล้วทั้ง Coupon และ Yield ต่างก็มีความสาคัญในมุมมองที่แตกต่างกัน หากนักลงทุนต้องการประเมินกระแสเงินสดในอนาคต ก็ควรพิจารณาที่ Coupon และหากต้องการเปรียบเทียบการลงทุนในตราสารหนี้แต่ละรุ่น หรือเปรียบเทียบกับการลงทุนในหลักทรัพย์อื่น ก็ควรพิจารณาที่ Yield

All Blogs